วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

การสืบพันธุ์ของสัตว์ (Animal Reproduction)





การสืบพันธุ์ของสัตว์เป็นพื้นฐานสำคัญต่อการผลิตสัตว์ทุกชนิด ถ้าสัตว์ไม่สามารถสืบพันธุ์ตามปกติได้จะทำความเสียหายให้กับการเลี้ยงสัตว์ข้นได้อย่างมหาศาล และส่งผลกระทบกระเทือนโดยตรงต่อเจ้าของกิจการและสังคมส่วนรวม เพราะอาหารของมนุษย์ ได้แก่ เนื้อ นม และไข่ เป็นผลโดยตรงจากการสืบพันธุ์ของสัตว์ทั้งสิ้น
ความสำคัญของการสืบพันธุ์ในการผลิตสัตว์ ( Relation of Animal Reproduction to Livestock Production )
ในการเลี้ยงสัตว์เพื่อใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ และในการผลิตสัตว์เพื่อเป็นการค้า เมื่อพิจารณาอย่างกว้างๆจะพบว่าเราได้กำหนดหน้าที่ของพ่อแม่พันธุ์ไว้แล้ว กล่าวคือ
ในพ่อพันธุ์ มีหน้าที่ในการผสมพันธุ์กับแม่พันธุ์ให้มีเปอร์เซ็นการผสมติดสูง และถ่ายทอดลักษณะทางกรรมพันธุ์ (Genetic traits)ที่ดีลงไปให้ลูกโดยผ่านทางอสุจิ เพื่อให้ลูกที่เกิดมาสมบรูณ์แข็งแรง ให้ผลผลิตสูงตามเผ่าพันธุ์ของพ่อ
ส่วนทางแม่ มีหน้าที่คล้ายคลึงกับพ่อพันธุ์ นั่นคือ การอุ้มท้อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมที่ดีผ่านทางไข่ไปสู่ลูก นอกจากนี้ แม่พันธุ์จะต้องออกลูกดกในกรณีของสัตว์ที่ออกลูกเป็นครอก เช่น สุกร หรือให้ไข่ดกในกรณีของสัตว์ปีก และให้ลูกอย่างสม่ำเสมอ เช่น ในโค-กระบือควรจะให้ลูกปีละ 1 ตัว ไก่ปีละ 200 ตัว หรือสุกรปีละ 20ตัว
จากหน้าที่ของพ่อแม่พันธุ์ดังกล่าวข้างต้น เราจะพบว่าการสืบพันธุ์ของสัตว์จึงเกื่ยวข้องกับ
1.การออกไข่
2.การคลอดลูกให้มีชีวิตรอดและสมบูรณ์แข็งแรง
3.การให้นม
ซึ่งก็เป็นผลมาจากการสืบพันธุ์ทั้งสิ้น ดังนั้น ถ้าการสืบพันธุ์ของสัตว์ไม่สมบรูณ์หรือเกิดปัญหาขึ้น ย่อมจะทำให้กระทบกระเทือนโดยตรงต่อกำไลและขาดทุนของฟาร์ม และยังส่งผลกระทบกระเทือนไปถึงผลทางเศษฐกิจของประเทศชาติโดยส่วนรวมด้วย หรือในทางตรงกันข้าม ถ้าเราสามารถยกระดับการสืบพันธุ์ของสัตว์ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นก็จะส่งผลดีกลับมาได้เช่นกัน
อวัยวะสืบพันธุ์ของสัตว์เพศผู้ (Male Reproductive Organs)





อวัยวะสืบพันธุ์ของสัตว์เพศผู้ มีหน้าที่ในการสร้างอสุจิที่สมบรูณ์พันธุ์(Fertility)สร้างสารละลายที่ช่วยหล่อเลี้ยงตัวอสุจิและป้องกันอันตรายจากสภาพแวดล้อมต่างๆ ช่วยนำส่งอสุจิออกสู่ภายนอกร่างกาย ผสมพันธุ์และขับฉีดน้ำเชื้อ(Semen)ที่มีตัวอสุจิอยู่เข้าไปยังจุดรองรับการผสมพันธุ์ในร่างกายของสัตว์เพศเมีย นอกจากนี้ ยังช่วยสร้างฮอร์โมนเพศผู้(Androgen)ด้วย
ส่วนประกอบที่สำคัญของอวัยวเพศผู้
1.อัณฑะ(testis หรือ testes)ลักษณะรูปร่างกลมค่อนข้างรีในสัตว์ทั่วไป และคล้ายเมล็ดถั่ว หรือไต (Kidney shape)ในสัตว์ปีกมีอยู่เป็นคู่ ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมโดยทั่วไปจะห้อยอยู่ภายในถุงหุ้มอัณฑะ (Scrotum)นอกร่วกาย เพื่อประโยชน์ต่อการปรับอุณหภูมิร่างกายประมาณ 2-3 องศาเซลเซส ทำให้กระบวนการสร้างอสุจิ(Spermatogenesis)เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด มีท่อเชื่อม(Spermatic cord)กับอวัยวะภายในผ่านยทางช่องท้อง(Inguinalcanal)ส่วนในสัตว์ปีกและช้าง อัณฑะจะอยู่ในช่องท้อง ไม่ออกมาข้างนอก อาการผิดปกติของอัณฑะเรียกว่า อัณพะทองแดง(Cryptochid)เป็นอาการที่อัณฑะไม่เคลื่อนที่เข้าไปอยู่ในถุงหุ้มอัณฑะ(Scrotum)ในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม จะทำให้เป็นหมันได้
ภายในอัณฑธจะพบองค์ประกอบที่แตกต่างกันอยู 2 ชนิด คือ
ก.ท่อเซมินิเฟอรัส(Seminiferous tubules)มีลักษณะเป็นท่อเล็กๆขดไปมาภายในอัณฑะเต็มไปหมด
ข.เลยิกเซลล์(Interstial cells หรือ Leydig cells)เป็นกลุ่มเซลล์ที่แทรกอยู่ระหว่างท่อ Seminiferous turbules มีอยู่ประมาณ 10% ของเซลล์ทั้งหมด
ส่วนประกอบภายในอัณฑะ
1. หลอดสร้างอสุจิ (Seminiferous tubules)เป็นท่อเล็กๆซึ่งแตละข้างของอัณฑะมีประมาณพันหลอด ทำหน้าที่สร้างอสุจิออกมาตามท่อที่เรียกว่า Rete testes เข้าสู่หลอดเก็บอสุจิ(Epididymis)
2. เซลล์อินเตอร์สติเชียล (Interstitial cells of leydig) เซลล์ที่แทรกอยู่ระหว่างหลอดสร้างอสุจิทำหน้าที่สร้างฮอร์โมนเพศ tesosterone
3. หลอดเก็บอสุจิ (Epididymis)เมื่ออสุจิถูกสร้างจากหลอดสร้างอสุจิแล้วจะถูกส่งไปเก็บไว้ในหลอดเก็บอสูจิ อสุจิจะเจริญเต็มที่ในหลอดนี้ใช้เวลา 1 เดือน หลอดนี้จะติดต่อกับท่อนำอสุจิ (Ves deferens)
2. ท่อนำอสุจิ ท่อปัสสาวะ และลึงค์ (Ves deferens, Urethra, Prenis)มีหน้าที่ร่วมกันในการส่งทีมีอสุจิอยู่ออกสู่ภายนอกร่างกาย ท่อนำอสุจิ (Ves deferens) เป็นท่อคู่เชื่อมระหว่างท่อเก็บอสุจิ (Epididymis)กับท่อปัสสาวะ (Urethra)ท่อนำส่งอสุจิจะขยายตัวเป็นกระเปาะ (Ampulla)บริเวณกระดูกเชิงกราน ที่กระเปาะนี้จะเป็นที่พักของตัวอสุจิ มีการผลิตอาหารสำหรับหล่อเลี้ยงอสุจิด้วย กระเปาะของท่อทั้ง 2 ข้าง
3. ต่อมน้ำกาม
ก. ต่อมสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิอสุจิ (Seminal vesicles)มี 2 ต่อม ทำหน้าที่สร้างอาหารและน้ำเลี้ยงให้แก่อสุจิ ต่อมนี้สร้างอสุจิหรือ Semen (ประกอบด้วยตัวอสุจิและของเหลว)ประมาณ 80%ของซีเมน ของเหลวต่อมนี้ได้แก่
- น้ำเลี้ยงอสุจิ (Seminal fluid)มีฤทธิ์เป็นด่างอ่อน
- อาหารของอสุจิ ซึ่งรวมอยุ่กับน้ำเลียงอสุจิ ประกอบด้วย วิตามินซี ฟรุกโตส และโปรตีน ประเภทโกลบูลิน ดังนั้นตัวอสุจิจะได้อาหารจากขบวนการเมแทโบลิซึมของอาหารดังกล่าว
ข. ต่อมลูกหมาก (Prostate gland) เป็นต่อม 1 ต่อม ที่อยุ่ล้อมรอบท่อฉีดอสุจิและตอนต้นของท่อปัสสาวะ ทำหน้าที่ส้รางสารที่มีลักษณะคล้ายน้ำนมชนิดด่างอ่อนเพื่อทำลายฤทธิ์กรดปัสาวะหรือในช่องคลอดของผู้หญิงต่อมสร้างนี้สารออกมาประมาณ 15-20% ของน้ำอสุจิ ต่อมน้ำจะเพิ่มขนาดขึ้นตามวัย ทำให้โตกดท่อปัสสาวะ ถ่ายปัสสาวะไม่สะดวกต้องผ่าตัดต่อมออก
ค. ต่อมคาวเปอร์ (Cowper's gland หรือ Bulbo-Urethral gland)อยู่ใต้ต่อมลูกหมากลงไป เป็นกระเปาะเล็กๆทำหน้าที่สร้างสารหล่อลื่นท่อปัสสาวะในขณะที่เกิดการกระตุ้นทางเพศ ต่อมนี้สร้างสรน้อยมากในการหลั่งน้ำอสุจิ (มีทั้งน้ำเลี้ยงอสุจิ (Seminal fluid)และตัวอสุจิรวมกันเรียกว่า น้ำอสุจิ หรือ Semen) ครั้งหนึ่งประมาณ 3 มล. จำนวนตัวอสุจิของชายปกติจะมีประมาณ 300-500 ล้านตัว ฉะนั้นผู้ที่มีจำนวนน้ำอสุจิต่ำกว่า 30 ล้านตัวต่อ ลบ.ซม. หรือ มีอสุจิที่มีรูปร่างผิดปกติมากอาจจะมีลูกได้ยาก อสุจิปกติจะเคลื่อนที่ได้รวดเร็วและมีอายุประมาณ 48 ชั่วโมงเมื่อเข้าไปในมดลูกหรือท่อนำไข่ การปฏิสนธิเกิดในบริเวณส่วนต้นของท่อนำไข่ (Oviduct)
4. ท่อนำอสุจิ (Vasdeferens) อยู่ต่อจากหลอดเก็บอสุจิ ทำหน้าที่นำอสุจิให้ผ่าน PENS และออกจากร่างกายทางการต่อเชื่อมระหว่างอัณฑะกับท่อนี้ ถ้าเป็นท่อจาก Semniferous tubule ไปเก็บที่หลอดเก็บอสุจิเรียกว่า Vas efferens
5. องคชาต(Penis)เป็นท่อกลวง และมีเนื้อเยื่อที่สามารถที่สามารถทำให้แข็งตัวได้ (Erectile tissue)เมือ่มีเลือดส่งเข้าไปคั่งอยู่ภายใน ซึ่งท่อปัสสวะและอสุจิจะออกทางท่อปัสสาวะ (Urethra)
การหลั่งน้ำอสุจิเป็นรีแฟลกซ์รับสัญญาณจากรีเซฟเตอร์ที่ gland penis ส่งไปยังสันหลังและมีคำสั่งตามประสาทพาราซิมพาเธติกทำให้กล้ามเนื้อท่ออสุจิหดตัว อสุจิออกมาพร้อมน้ำอสุจิ (SEMEN)ที่ประกอบด้วยอสุจิ น้ำเลี้ยงจากต่อมลูกหมาก ต่อม Cowper และจากต่อม Seminal vesicle
อวัยวะสืบพันธุ์ของสัตว์เพศเมีย (Female Reproductive Organs)
อวัยวะสืบพันธุ์ของสัตว์เพศเมียมuหน้าที่สร้างไข่ไว้รอบรับการผสมจากอสุจิ สร้างจากอาหารไว้หล่อเลี้ยงตัวอ่อน รองรับการผสมพันธุ์จากเพศผู้ นอกจากนี้ยังผลิตฮอร์โมนเพศเมีย(Estrogen)
ส่วนประกอบที่สำคัญของอวัยวะสืบพันธุ์เพศเมีย



ส่วนประกอบที่สำคัญของเพศเมีย
1. รังไข่(Ovary)ตั้งอยู่ภายในช่องท้องเป็นคู่ซ้ายขวาอยู่บริเวณเหนือมดลูก รังไข่ประกอบด้วยกระเปาะไข่ (Follies)ภายในไข่(Voum)เมื่อเกิดการตกไข่ (Ovulation)กระเปาะไข่จะฉีกออกให้ไข่ตกออกมาสู่ท่อทางเดินของอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศเมีย ส่วนรอยแผลฉีกขาดนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงไปเป็น Corpusb Iuteum(CL)ซึ่งจะทำหน้าที่ผลิต Progesterone ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่จะช่วยทำหน้าที่คุ้มครองการตั้งท้อง CL มีเฉพาะในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมเท่านั้น
2.ท่อสืบพันธุ์อวัยวะเพศเมีย
ก. ปากแตร(Infundiblum)มีลักษณะ เป็นกรวยคล้ายปากแตร มีหน้าที่รองรับไข่ที่ตกออกมาจากรังไข่เมื่อเกิดการตกไข่
ข. ท่อนำไข่ (Oviduct)เป็นท่อที่ต่อกับ Infundibulum ทำหน้าที่ให้ไข่ตกมาผ่านไปและเป็นจุดที่เกิดการปฏิสนธิ (Fertilizฟtion)ระหว่างไข่กับอสูจิ
ค. มดลูก (Uterus) แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนปีกมดลูก (Uterine horn)เป็นที่ฝังตัวของลูกอ่อน ในกรณีที่สัตว์ออกลูกเป็นครอก เช่น สุกร หรือโค-กระบือ แม้ว่าจะออกลูกคราวละ 1-2 ตัว อีกส่วนหนึ่ง คือ ตัวมดลูก (Uterine body)เป็นที่ฝั่งตัวของลูกอ่อนเช่นกัน เช่น คน แต่คนในปีกมดลูกจะมีขนาดค่อนข้างเล็กและสั้นไม่ค่อยสำคัญในการตั้งท้อง
ง. คอมดลูก (Cervix)หรือปากมดลูก เป็นกล้ามเนื้อแข้งแรง เมื่อสัตว์เกิดการตั้งท้องจะเกิดมีสารเหนียว (Muscous of pregnancy plug)มาอุดตันไว้เพื่อป้องกันเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมเข้าไปทำลายการตั้งท้อง
จ. ช่องคลอด (Vagina)มีลักษณะเป็นกระบอกกลวงที่หุบแฟบ มีเซลล์ประสาทรับความรู้สึกอยู่ค่อนข้างหนาแน่น เซลล์เหล่านี้จะช่วยผลิตน้ำเมือกหล่อลื่น
ฉ. ปากช่องคลอด (Vulva)ประกอบด้วยแคมใน (Labia minora)แคมนอก(Labia majiora) เม็ดละมุดหรือปุ่มกระสัน (Clitoris)ซึ่งเป็นที่ตั้งของต่อมบาโธลีน (Bartholin's glands)ซึ่งมีอยู่เป็นคู่ จะหลั่งน้ำหล่อลื่นออกมาปล่อยที่ผิวของแคมใน ทำให้ปากช่องคลอดและแคมในเปียกชื้นอยู่เสมอ เม็ดละมุน (Clitoris)ตั้งอยู่บนรอยต่อของแคมในกับ Vulva เป็นศูนย์รวมของประสาทสัมผัสในการผสมพันธุ์
การเจริญของไข่ในรังไข่




บริเวณผิวชั้นนอกของรังไข่ (Cortex)จะมีฟองไข่(Oocyte) อยู่เป็นจำนวนมาก และมีจำนวนที่แน่นอนตั้งแต่สัตว์แรกเกิด แต่ยังไม่มีการเจริญพัฒนาขึ้น ต่อเมื่อสัตว์ถึงวัยสาว อิทธิพลของฮอร์โมน FSH(Follicle stimulating hormone)
จากต่อมใต้สมองส่วนหน้า (Anterior pituitary gland)จะเหนี่ยวนำให้ไข่เกิดเจริญพัฒนาไปตามลำดับ คือ จาก Primary follicle ซึ่งเป็นถุงที่ห่อหุ้มไข่อยู่และเป็นเวลล์ชั้นเดียว จะไปเป็น Secondary follicle ซึ่งมีเซลล์ล้อมหลายชั้น จนกลายเป็น Tertiary follicles ที่มีเซลล์หลายชั้นและเริ่มสะสมน้ำ ขณะที่ไข่ซึ่งอยู่ภายในยังมีการพัฒนาอย่างช้าๆจนสุดท้ายได้เป็น Matrue follice จะได้ช่องว่างภายในเรียกว่า Antrum สำหรับตัว Follicle จะมีเซลล์บุ 2ชั้น ชั้นนอกเรียกว่า Theca externa ส่วนชั้นในเรียกว่า Theca interna ซึ่งเวลล์ชั้นในนี้จะทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนเพศเมีย (Estrogen)ซึ่งจะส่งผลให้สัตว์แสดงออกการเป็นสัตว์ออกมา และEstrogen จะขึ้นสู่ระดับสูงสุดเมือ่เป็น Mature follicle ฮอร์โมน Estrogen ที่ผลิตขึ้นได้นี้จะบรรจุในช่องว่าง Antrun นั่นเอง เมื่อ Estrogen ขึ้นสูงสุดจะมีการเจริญพัฒนาของไข่จนแก่ตัวเต็มที่จะใช้เวลาเพียง 3 วัน หลังจากนั้น ฮอร์โมน LH (Luteinizing hormone)จากต่อมใต้สมองส่วนหน้าเช่นกันจะกระตุ้นให้ผนังของ Follice ฉีกขาด ไข่อยู่ภายใน (Ovum)ซึ่งมีเปลือกหุ้ม 2 ชั้น คือ ชั้นในเรียกว่า Vitelline membrane และชั้นนอกเรียกว่า Zona pellucida ก็จะตกออกมา แล้วตกลงยังปากแตร (Infundiblum)ที่รองรับอยู่ เซลล์ที่เหลือของ Follicle ซึ่งเป็น Granulosa cell ก็จะพัฒนาตัวเองไปเป็น Corpus Iuteum ต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น