วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

การสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต

การสืบพันธุ์ของสัตว์
สิ่งมีชีวิตแตกต่างจากสิ่งไม่มีชีวิต คือมีสามารถในการให้กำเนิดสิ่งมีชีวิตใหม่จากสิ่งมีชีวิตเดิมซึ่งเป็นสมบัติของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดที่ทำให้สิ่งมีชีวิตสามารถดำรงพันธุ์ให้คงไว้ได้
การสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวมีการสืบพันธุ์ทั้งแบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ การไม่อาศัยเพศส่วนใหญ่เป็นการแบ่งเซลล์เป็น 2 ส่วนเท่าๆกัน เช่น อะมีบา สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวบางชนิดสืบพันธุ์โดยการแตกหน่อ เช่น ยีสต์
การสืบพันธุ์ของสัตว์
การสืบพันธุ์ของสัตว์มีทั้งการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศและไม่อาศัยเพศ การสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศในสัตว์ที่มีโครงสร้างของร่างกายไม่ซับซ้อนและมีความสามารถในการงอกใหม่ เช่น พลานาเรีย ดาวทะเล สัตว์พวกนี้สามารถสืบพันธุ์โดยวิธีการงอกใหม่ การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศเกิดจากการปฏิสนธิของเซลล์สืบพันธุ์เพศผู้หรืออสุจิกับเซลล์สืบพันธุ์เพศเมียหรือเซลล์ไข่ซึ่งอาจเกิดภายในหรือภายนอกเพศเมียก็ได้เซลล์ไข่ที่ได้รับการผสมเรียกว่า ไซโกต

1. การสืบพันธุ์แบบอาศัยไม่เพศ


การสืบพันธุ์

เป็นการสืบพันธุ์แบบที่ไม่จำเป็นจะต้องมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ เพียงแต่สร้างตัวจำลองตนเอง ดดยมีคุณสมบัติและพันธุกรรมเหมือนตัวเดิมทุกประการ คือ มีการแสดงออกหรือฟีโนไทน์เหมือนเดิมและลักษณะทางพันธุกรรมเหมือนกันทุกประการ การสืบพันธุ์แบบนี้มีหลายวิธี
การสืบพันธุ์แบบไม่มีเพศ ได้แก่
1.การแบ่งแยก (FISSION) เป็นการสืบพันธุ์แบบไม่มีเพศของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เช่น โพรโทซัว แบคทีเรีย ยีสต์ และสาหร่าย ระหว่างที่มีการแบ่งแยกจะมีการแบ่งสารพันธุกรรมด้วย ขบวนการนี้แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ
1.1 แบ่งแยกเป็นสอง (BINARY FISSION) จากหนึ่งเซลล์แบ่งได้เป็น 2 เซลล์ และ 4 เซลล์ต่อไปเรื่อยๆ
1.2 การแบ่งแยกทวีคูณ (MULTIPLE FISSION) นิวเคลียส จะมีการแบ่งแบบไมโตซีสหลายครั้งได้นิวเคลียสหลายอัน แล้วจึงแบ่งไซโตพลาซึมได้เป็นหลายเซลล์จะเกิดในพวกสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง เช่น ในเชื้อมาเลเรียบางระยะและในอมีบาบางชนิดในระยะเป็นตัวหนอนของฟองน้ำและปลาดาวบางชนิด
2. การแตกหน่อ (BUDDING) การสืบพันธุ์แบบนี้ หน่อเดิมจะมีการแบ่งเซลล์ได้หน่อใหม่ (BUD) เกิดขึ้นและยังติดอยู่กับหน่อเดิม มีรูปร่างเหมือนหน่อเดิม แต่มีขนาดเล็กกว่า การแตกหน่อพบได้ในพืชเซลล์เดียว เช่น ยีสต์ ในพืชหลายเซลล์ เช่น มาร์เเชนเทีย (MARCHANTIA) ซึ่งเป็นพืชชั้นต่ำพวกตะไคร่ชนิดหนึ่ง (หรือเรียกลิเวอร์เวิธ) และต้นตีนตุ๊กแก ต้นตายใบเป็น ส่วนในสัตว์หลายเซลล์ ได้แก่ไฮดรา
3. การหัก (FRAGMENTATION) การสืบพันธุ์แบบนี้ชิ้นส่วนของพ่อแม่จะแยกออก แล้วเจริญเป็นสิ่งมีชีวิตใหม่ ได้แก่ ฟองน้ำ ดอกไม้ทะเล
4. การสร้างใหม่ (REGENERATION) การสืบพันธุ์แบบสร้างใหม่คล้าย การหัก แต่ต่างกันตรงที่การสร้างใหม่เป็นการเจริญเพื่อซ่อมแซมส่วนที่ขาดหายไป เนื่องจากได้รับความเสียหายจากภายนอก วิธีนี้สิ่งมีชีวิตที่ถูกตัดออกเป็นชิ้นๆแต่ละชิ้นจะสามารถงอก เป็นสิ่งมีชีวิตใหม่ได้ เช่น ในชิ้นส่วนของพืชเกือบทุกชนิด ในไส้เดือนดิน ฟองน้ำไฮดรา และปลาดาว พลานาเรีย ซึ่งเป็นหนอนตัวแบนชนิดหนึ่ง เมื่อถูกตัดออกเป็นท่อนๆแต่ละท่อนจะเจริญเป็นตัวที่สมบูรณ์ได้
5. การสร้างสปอร์ สปอร์จัดเป็นหน่วยสืบพันธุ์อย่างหนึ่ง ปกติสปอร์มักจะมีผนังหนา จึงทนทานต่อสิ่งแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น ความแห้งแล้ง นอกจากนี้สปอร์ยังมีขนาดเล็ก เหมาะที่จะกระจายไปในอากาศ เมื่อสิ่งแวดล้อมเหมาะสมจะปล่อยสปอร์เป็นจำนวนมาก ในพวกเห็ดราบางชนิด สปอร์เกี่ยวข้องกับการสืบพันธุ์แบบไม่มีเพศ และแบบมีเพศในพืชพวกเมทาไฟตา มีการสร้างสปอร์ซึ่งเป็นช่วงหนึ่งของการสืบพันธุ์แบบสลับด้วย
2. การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ





เป็นการสืบพันธุ์แบบที่ต้องมีการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ที่มีโครโมโซมเป็นแฮพลอยด์ (haploin)เป็นเซลล์ที่ได้มาจากการแบ่งตัวแบบไมโอซิสของเซลล์ spermatogonium(2n)หรือ oogonium(2n)การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นภายหลังที่เซลล์สืบพันธุ์มีการปฏิสนธิจากเพศตรงข้าม
การสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศของสัตว์คือจะต้องมีการผสมระหว่างเซลล์สืบพันธุ์ของเพศผู้ที่เรียกว่า ตัวอสุจิ และเซลล์สืบพันธุ์ของเพศเมียที่เรียกว่า ไข่ เมื่อสัตว์โตเต็มที่และพร้อมที่จะสืบพันธุ์แล้ว เพศเมียจะสร้างไข่ และเพศผู้จะสร้างอสุจิ ไข่และตัวอสุจิของสัตวืแต่ละชนิดจะมีขนาดและจำนวนต่างๆกันไป โดยทั่วไปไข่จะมีลักษณะกลมหรือรี เคลื่อนที่ไม่ได้ และมักมีอาหารสะสมอยู่เพื่อไว้เลี้ยงตัวอ่อนที่อยู่ภายใน เช่น ไข่แดงของไข่ไก่ ไข่เป็ด นอกจากนี้ยังมีสิ่งห่อหุ้มเพื่อป้องกันการกระทบกระเทือนจากสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจมีลักษณะเป็นวุ้น เช่น ไข่กบ หรือมีลักษณะเป็นเยื่อเหนียว เช่น ไข่เต่าทะเล บางชนิดมีเปลือกแข็งหุ้ม เช่น ไข่เป็ด ไข่ไก่ ไข่จระเข้ สำหรับตัวอสุจิจะมีขนาดเล็กกว่าไข่มาก และมักมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า และจะเคลื่อนที่ได้เร็วเพราะมีส่วนหางช่วยในการเคลื่อนที่เพื่อสะดวกในการเข้าผสมกับไข่ เมื่อตัวอสุจิผสมกับไข่จะเกิดการ ปฏิสนธิ ขึ้น ถ้าตัวอสุจิจากสัตว์เพศผู้เข้าผสมกับไข่ซึ่งยังอยู่ในตัวของสัตว์เพศเมีย เราเรียกการปฏิสนธิแบบนี้ว่า การปฏิสนธิภายใน แต่ถ้ามีการผสมระหว่างไข่และตัวอสุจิภายนอกตัวขอวสัตว์เพสเมีย เราเรียกว่า การปฏิสนธิภายใน ปัจจุบันการเลี้ยงปลากัดเป็นที่นิยมมากขึ้น





เมื่อปลาตัวเมียท้องโตขึ้นเรื่อยๆจนท้องแก่เต็มที่ เมื่อนำมาไว้รวมกับปลาตัวผู้ ปลาทั้งสองเพศจะไม่กัดกัน ตัวผู้จะทำหวอดไว้ตามขอบตู้ปลาและตามพืชน้ำที่ใส่ไว้ จากนั้นจะไล่รัดตัวเมีย เมื่อปลากัดตัวเมียถูกตัวผู้รัดจะปล่อยไข่ออกมา ตัวผู้จะปล่อยอสุจิออกมาด้วย จากนั้นจะคลายการรัดแล้วจึงเริ่มรัดใหม่ ดังนั้นไข่ที่ออกมาจึงออกมาเป็นชุดๆจนหมด ขณะที่ตัวเมียออกไข่แต่ละชุด ตัวผู้จะรีบเข้าไปอมไข่นำไปคายใส่ไว้ในหลอด เมื่อตัวเมียออกไข่หมดแล้ว จะสังเกตจากตัวผู้เริ่มหวงไข่ และเริ่มไล่กัดตัวเมีย ให้แยกตัวเมียออกไปเลี้ยงที่ภาชนะอื่น ไม่เช่นนั้นตัวเมียจะกินไข่หมด ตัวผู้จะเฝ้าดูแลไข่จนฟักเป็นลุกปลาตัวเล็กๆ จึงแยกตัวผู้ออก ไม่เช่นนั้นตัวผู้จะกินลูกปลาหมด
การปฏิสนธิภายนอกนั้นต้องอาศัยน้ำเป็นตัวกลางให้ตัวอสุจิเคลื่อนที่เข้าไปผสมกับไข่ได้และการปฏิสนธิแบบนี้ต้องอาศัยการบังเอิญ ดังนั้นแม้ว่าปลาที่มีการปฏิสนธิภายนอกจะวางไข่จำนวนมาก แต่ก็มีไข่เพียงจำนวนหนึ่งเท่านั้นที่ได้รับการผสม
ปลาบางชนิดออกลูกเป็นตัว เช่น ปลาเข็ม ปลาหางนกยูง ปลาฉลาม ซึ่งจะเป็นการปฏิสนธิภายใน โดยปลาตัวผู้จะปล่อยอสุจิเข้าไปในร่างกายของปลาตัวเมียที่มีไข่สุกอยู่ภายในร่างกาย ตัวอสุจิจะเข้าผสมกับไข่ เมื่อไข่ได้รับการผสมแล้วจะเจริญเติบโตเป็นลูกปลาต่อไปจนครบกำหนดคลอด สัตว์ที่วางไข่บนบกทุกชนิด และสัตว์ที่ออกลุกเป็นตัวมีการปฏิสนธิภายในทั้งสิ้น หลังจากมีการปฏิสนธิสัตว์บางชนิดจะวางไข่ซึ่งมีเปลือกหุ้มไว้ในที่ที่เหมาะสม เพื่อให้ไข่ได้รับการผสมและเจริญเติบโตเป็นตัวต่อไป ส่วนสัตว์ที่ออกลุกเป็นตัว เมื่อไข่ได้รับการผสมแล้ว ก็ยังจะเจริญเติบโตอยู่ในตัวแม่ต่อไป จนถึงกำหนดคลอดจึงคลอดออกมาเป็นลุกสัตว์และเติบโตต่อไป ระยะเวลาของการเจริญเติบโตของสัตว์แต่ละชนิดจะแตกต่างกัน

1 ความคิดเห็น: