วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องและควบคุมการสืบพันธุ์ (Hormonal Control of Animal Reproduction)




ฮอร์โมนที่มีผลต่อระบบสืบพันธุ์ ได้แก่
1. FSH (Follicle stimulating hormone)ผลิตจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า (Anterior pituitary gland)มีหน้าที่ช่วยกระตุ้นให้ถุงไข่และไจริญเติบโต กระตุ้นให้มีการเจริญและพัฒนาของ Germ cells ไปเป็นอสุจิช่วยในการสร้าง Estrogen
2. LH (Luteinzing hormone)ผลโดยตรงของมันทำให้เกิดการตกไข่ (Ovulation)และช่วยกระตุ้น Leydig cell ให้ผลผลิตฮอร์โมนเพศผู้ (Testosrone)
3. Prolaction ผลิตจากต่อมใต้สมองส่วนหน้าเช่นกัน มีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นการสร้างน้ำนมในสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และช่วยกระตุ้นพฤติกรรมฟักข่และเลี้ยงลูกในสัตว์ปีก
4. Oxytocin เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากสมองส่วนไฮโปธาลามัส (Hypothalamus)แต่ส่งมาเก็บไว้ที่ต่อมใต้สมองส่วนหลัง (Posterior pituitary gland)ช่วยให้เกิดการหลั่งน้ำนม ทำให้มดลูกบีบตัวขณะสัตว์คลอด และยังช่วยทำให้ท่อระบบสืบพันธุ์เพศเมียมีการบีบตัวเป็นคลื่น (Persistalsis)ทำให้อสุจิถูกขับเคลื่อนขึ้นไปจนถึง Oviduct
5.Estrogen สร้างมาจากเซลล์ Theca interna ของกระเปาะไข่ กระตุ้นพฤติกรรมการเป็นสัดให้เต้านมและเยื่อบุมดลูกขยายตัว และยังช่วยกระตุ้นลักษณะของเพศเมีย (Female sex characterisics)
6. Progesterone สร้างจาก Corpus luteum และรก ทำหน้าที่คุ้มครองการตั้งท้อง ทำให้เต้านมและเยื่อบุมดลูกขยายตัว และยังมีผลยับยั้งการหลั่งของ FSH กับ LH
7. Relaxin สร้างมาจากรังไข่และรกขณะที่สัตว์ท้องแก่ใกล้คลอดทำให้เกิดการคลายตัวของคอมดลูกและกระด฿กเชิงกราน ช่วยในการคลอด
8. Testosterone สร้างจาก Leydig cells ของอัณฑะทำหน้าที่กระตุ้นลักษณะของเพศผู้(Male sex characteristics)ควบคุมความสมบรูณ์พันธุ์ของเพศผู้ ทำให้อสุจิสมบรูณ์และแข็งแรงทำให้เพศผู้อยากผสมพันธุ์ (Libido)
9. GH (Growth hormone), Thyroxine และ Corticosterone สร้างจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ต่อมไทรรอยด์ (Thyroid)และต่อมหมวกไต (Adrenal)ส่วนนอก(Cortex)ตามลำดับเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของรางกาย การเผาผลาญอาหารและ metabolism ของร่างกาย ซึ่งจะมีการกระทบต่อการเป็นหนุ่มสาว (Puberty)ของสัตว์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น